ไก่ไข่อารมณ์ดี
เลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย @ อัมรินทร์ฟาร์ม
เลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย @ อัมรินทร์ฟาร์ม
การเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย หมายถึง
การเลี้ยงไก่ใว้ในพื้นที่ที่มีอาณาบริเวณกว้าง มีรั้วหรือคอกล้อมไว้
ภายในรั้วหรือคอกล้อมจะมีรังหรือคอนให้ไก่นอน มีรังไข่
มีรางอาหารหรืออาจจะโปรยให้ไก่กินอาหาร
บนพื้น และมีรางน้ำ
ข้อดีของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบนี้ก็คือ
สามารถควบคุมดูแลไก่ของตนเองได้อย่างทั่วถึง
โดยเฉพาะในแง่ของการป้องกันโรคและสัตรูต่างๆ ป้องกันขโมย
ป้องกันสุนัขหรือสัตว์อื่นๆไม่ให้มารบกวนไก่
อีกทั้งยังทำให้แม่ไก่รู้จักไข่เป็นที่เป็นทางและสะดวกต่อการเก็บไข่ด้วย
การเลี้ยงไก่งรูปแบบนี้ มักจะกักไก่ไว้ในคอกล้อมซึ่งประกอบด้วยเล้าและลานที่อยู่ติดกัน
โดยอาจปล่อยให้ไก่ออกหากินตามธรรมชาติบ้างในบางโอกาส มีการให้อาหารเป็น เวลาและมีน้ำไว้ในเล้าให้ไก่กินตลอดเวลา เมื่อมีโรคระบาดหรือต้องการจะให้ยาและวัคซีนก็สามารถขังไก่ไว้ในเล้าได้
นับเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ใช้ได้ทั้งกับไก่พื้นเมืองของไทยและไก่พื้นเมืองลูกผสมพันธุ์ต่างประเทศ
ไก่ไข่อารมณ์ดี
เลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย สไตล์ "อัมรินทร์ ฟาร์ม"
เลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย สไตล์ "อัมรินทร์ ฟาร์ม"
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>><<<<<<<<<<<<<<<<<<<
ไก่เบตง
การเลี้ยงไก่เบตง
ประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์เบตง
ประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์เบตง
คำว่า “เบตง” เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลา ซึ่งมีพื้นที่อยู่ใต้สุดของจังหวัดยะลาและประเทศไทยมีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกับรัฐเคดา ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ลักษณะพื้นที่เป็นที่สูง ราษฏรส่วนใหญ่เป็นคนไทยมีเชื้อสายจีน มีอาชีพในการทำสวนยางพาราและค้าขาย และเป็นแหล่งกำเนิดไก่ที่มีชื่อเสียงมาก เนื้อมีรสชาดอร่อยและตัวใหญ่
ตามประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์เบตงนี้ เป็นไก่ซึ่งมีเชื้อสายมาจากไก่พันธุ์เลียงชาน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เมื่อชาวจีนอพยพมาจากประเทศจีนและมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ตั้งหลักแหล่งในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จึงได้นำไก่พันธุ์นี้มีมาแพร่หลายในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จนถึงทุกวันนี้
ไก่พันธุ์เบตง เป็นไก่ที่ชอบหากินอิสระในสนามหญ้าบริเวณบ้านตามป่าโปร่ง ๆ คงเป็นเพราะไก่พันธุ์นี้มีลักษณะไก่ป่าอยู่มาก ราษฏรในอำเภอเบตงเลี้ยงไก่พันธุ์นี้ตามบริเวณลานบ้านในสวนยางพารา ไก่พันธุ์นี้เลี้ยงเชื่องมากชอบหากินเป็นฝูง ตัวผู้รักลูกมาก บางครั้งจะพบว่าตัวผู้จะฟักลูกแทนตัวเมีย
ไก่เบตงที่มีคุณภาพ ต้องได้รับการดูแลอย่างพิถีพิถัน เลี้ยงด้วยสูตรอาหารเป็นการเฉพาะ ซึ่งก็คือเลี้ยงด้วยอาหารตามพื้นบ้าน ข้าวโพด ข้าวเปลือก รำ หยวก ฯลฯ เลี้ยงปล่อยในพื้นที่พอประมาณ ไม่ใช่เลี้ยงแบบฟาร์มปิด ถึงจะได้ไกเบตงที่มีเนื้อเหลือง มีความนุ่มลิ้น หนังเคี้ยวกรุบ และที่สำคัญจะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ ชวนรับประทานเป็นอย่างมาก
โดยในปัจจุบันราคาไก่เบตงในท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 120-160
บาทขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่ บางตัวมีน้ำหนักมากถึง 4 กิโลกรัมหรือตกตัวละ 500
บาท ส่งผลให้ราคาอาหาร เช่นไก่เบตงคั่วเค็ม ไก่เบตงตุ๋นยาจีนมีราคาเฉลี่ยจานละ
300-350 บาท ด้วยรสชาติหวาน เนื้อนุ่ม ไม่เหนียว หนังอร่อย
แต่หาร้านที่ทำเมนูอาหารจากไก่เบตงค่อนข้างยาก ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาสูง
ที่สำคัญการเลี้ยงไก่เบตงลดลงทุกวัน
สำหรับไก่เบตงที่ "อัมรินทร์ฟาร์ม" เริ่มเลี้ยงมีทั้ง
ไก่หนุ่มสาววัยเจริญพันธุ์ และแบบลูกไก่
พ่อ-แม่พันธุ์ไก่เบตง
ลูกไก่เบตงที่ซื้อมาเลี้ยง เริ่มแรกเลี้ยงในเล้าเล็กๆ มีแสงไฟสำหรับสร้างความอบอุ่น
เมื่อลูกไก่เริ่มโตจึงต้องขยับขยาย
ตัดไม้ไผ่ตงสำหรับทำเสาเล้าไก่
เล้าไก่ทำกันเองแบบง่ายโดยใช้ไม้ไผ่จากสวนหลังบ้าน
เล้าไก่ที่สร้างเสร็จเรียบร้อย มีรั้วหรือคอกล้อมไว้ ภายในรั้วหรือคอกล้อมจะมีคอนให้ไก่นอน
มีรางอาหารหรืออาจจะโปรยให้ไก่กินอาหารบนพื้น และมีรางน้ำ
สำหรับผู้ที่คิดจะเลี้ยงไก่ต้องทำความเข้าใจ เสียก่อนว่า
ไก่ต้องการอาหาร เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ เช่น
- ใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หายใจ เดิน วิ่ง และการกินอาหาร
- ใช้ในการสร้างกระดูก เนื้อ หนัง ขน เล็บ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- ใช้ในการสร้างไข่ และผลิตลูกไก่
ดังนั้น การที่ไก่จะเจริญเติบโตดี มีความแข็งแรง และให้ไข่มากไก่จะต้อง
ได้กินอาหารเพียงพอและได้กินอาหารดี โดยสม่ำเสมอทุกวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น